การเงินคืออะไร? ประโยชน์ของการเงิน + การบริหารการเงินแบบต่างๆ

อาจจะฟังดูวัตถุนิยมมากไปหน่อย แต่ ‘เงิน’ คือสิ่งที่ขับเคลื่อนโลกของเรา เพราะก่อนที่เราจะสามารถได้มาซึ่งปัจจัยสี่ ที่มนุษย์จำเป็นต่อการดำรงชีวิต…เราก็ต้องมีเงินก่อน
สำหรับคนวัยทำงานทุกคน ความรู้ด้านการเงินถือว่าเป็นสิ่งจำอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษีที่น่าปวดหัว หรือเรื่องการเก็บออมเพื่อการเกษียณ หากเป็นคนที่ทำงานอยู่ในแวดวงธุรกิจ แผนกการเงินการบัญชีก็เป็นแผนกที่บริษัทไหนก็ขาดไม่ได้ 
ในบทความนี้เรามาศึกษากันว่า การเงินคืออะไร มีอะไรบ้าง และการเงินในรูปแบบต่างๆสำคัญแค่ไหน

การเงินคืออะไร [Finance]

การเงิน หมายถึงกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารเงิน และระบบขั้นตอนการระดมทุน ซึ่งรวมถึง การธนาคาร หนี้ เครดิต ตลาดหุ้น เงิน และการลงทุน การเงินครอบคลุมถึงขั้นตอนการดูแล สร้าง และศึกษาเกี่ยวกับเงิน เช่นกันเงินธุรกิจ และการเงินส่วนบุคคล
หากพูดถึงเรื่องการเงิน คนทั่วไปก็อาจจะคิดถึงธนาคาร หรือบริษัทขายประกัน คนที่ทำธุรกิจก็อาจจะคิดถึงตลาดหุ้นหรือตลาดหลักทรัพย์ คำว่าการเงินเป็นคำศัพท์ที่กว้างมาก เป็นการรวมหัวข้อหลายอย่างตั้งแต่การบริหาร เศรษฐศาสตร์ การบัญชี หรือแม้แต่คณิตศาสตร์ประยุกต์
ในส่วนก็การเงินส่วนบุคคล การเงินก็รวมถึงการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ภาษี การเก็บออม โดยเฉพาะการออมเพื่อการเกษียณ การลงทุนส่วนบุลคล หรือแม้กระทั่งการบริหารหนี้ส่วนบุคคล บางส่วนอาจจะฟังดูเข้าใจยากแต่ความรู้เรื่องการเงินก็เป็นความรับผิดชอบอย่างหนึ่งที่คนวัยทำงานต้องเรียนรู้และเข้าใจให้ดี

การบริหารการเงิน – ประโยชน์และความสำคัญของการเงิน

หากถามว่า ‘เงิน’ สำคัญอย่างไร เราก็คงต้องย้อนกลับไปยุคสมัยที่ทุกคนไม่ได้ใช้เงินกันก่อน ในสมัยก่อนคนทั่วไปใช้วิธี ‘แลกเปลี่ยนสินค้า’ เพื่อความอยู่รอด แลกวัวกับผัก แลกผลไม้กับไข่ไก่ แลกรองเท้ากับการตัดผม เนื่องจากว่าทุกคนมี ‘สินค้า’ ไม่เหมือนกัน ทุกการแลกเปลี่ยนต้องมีการเจรจาต่อรองใหม่ตลอด ทุกการแลกเปลี่ยนต้องมาด้วยการ ‘ถกเถียง’ กันว่าสินค้านี้ราคาเท่า และ อะไรถึงจะมีคุณค่าที่เท่าเทียม

หากมนุษย์จะเก่งอะไรซักอย่าง มนุษย์ก็คงเก่งที่การ ‘ทำอะไรให้ง่ายขึ้น’ เหล่ะครับ เงินถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นภาษากลางของการแลกเปลี่ยนสินค้า ทำให้ธุรกรรมต่างๆมีความเร็วมากขึ้น (ลองคิดภาพคุณกำลังต่อคิวซื้อข้าวแล้วทุกคนต้องต่อรองกับแม่ค้า เพื่อแลกนู่นแลกนี่ดู แค่คิดก็น่าหงุดหงิดแล้ว)
เงิน…ทำให้ทุกอย่างมีมูลค่าที่ชัดเจนมากขึ้น ทำให้เรารู้ว่าน้ำเปล่ามีมูลค่า 10 บาท หนังสือหนึ่งเล่มมีมูลค่า 200 บาท และบริษัทในตลาดหุ้นที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเรียกเงินว่า ‘ตัววัดค่าความน่าเชื่อถือของสินค้า’ แปลว่าถ้าคนทั่วไปพร้อมที่จะจ่ายใหเกับสินค้าหนึ่งชิ้นเป็นเงินจำนวนมาก…ก็เท่ากับว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่มี ‘ความน่าเชื่อถือ’ 
มูลค่าของเงินทำให้เรารู้ว่าพนักงานแต่ละคนควรจะมี ‘ค่าจ้าง’ เท่าไร และ ‘ความน่าเชื่อถือ’ ของเงินทำให้เกิดการ ‘กู้ยืม’ จนทำให้เกิดสินค้าการเงินต่างๆ อย่าง เงินกู้ บัตรเครดิต และ ประกัน 
ถ้าเรารู้เรื่องประโยชน์และความสำคัญของการเงินแล้วรอมาดูบทบาทของการเงินส่วนบุคคลการเงินสำหรับธุรกิจกันบ้างครับ

การเงินส่วนบุคคล – การวางแผนการเงิน [Personal Finance]

การเงินส่วนบุคคล หมายถึงการบริหารเงิน การเก็บออมเงิน และการลงทุนสำหรับบุคคล ยกตัวอย่างเช่น ประกัน การลงทุน เงินกู้ เงินเกษียณ ภาษี การธนาคาร การตั้งงบ และ อสังหาริมทรัพย์ คำว่าการเงินส่วนบุคคลมักหมายถึงบริษัทการเงินที่บริหารและให้คำแนะนำเรื่องการเงินสำหรับบุคคลทั่วไป

โดยทั่วไปแล้ว การเงินส่วนบุคคลคือเครื่องมือที่จะช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถบรรลุเป้าหมายการเงินส่วนตัวได้ เช่นกันรวมถึงเป้าหมายการเงินระยะสั้นและเป้าหมายการเงินระยะยาว ทุกคนมีรายได้ ค่าใช้จ่าย และความรู้ด้านการเงินไม่เท่ากัน ซึ่งก็เป็นส่วนสำคัญของบริการทางด้านการเงินส่วนบุคคล เพราะการที่จะตอบสนองความต้องการที่แตกต่างของแต่ละคนนั้น ต้องใช้ความรู้ในระดับสูง
‘การวิเคราะห์’ และ ‘จัดอันดับความสำคัญ’ เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเงินส่วนบุคคล ถึงแม้ว่าบริการด้านการเงินและที่ปรึกษาด้านการเงินจะมีเยอะ ความรับผิดชอบและการตัดสินใจทางด้านการเงินก็ควรอยู่กับเจ้าของเงิน ซึ่งเจ้าของเงินก็มีหน้าที่ที่จะหา ‘ความรู้ทางการเงิน’ ให้ตัวเอง เพื่อป้องกันแยกแยะระหว่างคำแนะนำทางการเงินที่ดีและไม่ดี 
‘วินัย’ ก็เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่สำคัญสำหรับการเงินส่วนบุคคล โดยเฉพาะสำหรับคนหนุ่มสาวที่เพิ่งเริ่มทำงานและมีเงินเดือนเป็นครั้งแรก วินัยในการลงทุน การเก็บออม และการบริหารหนี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกบังคับสอนในโรงเรียน แต่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับทุกคน ความแตกต่างระหว่างคนที่เกษียณอย่างสบายและคนที่เกษียณอย่างลำบาก อาจจะอยู่แค่ว่าเราออมเงินไว้เยอะแค่ไหนในระหว่างที่ที่เราเพิ่งเริ่มทำงาน 

taladserkai.online

การเงินธุรกิจ – หน้าที่สําคัญของการเงินบริษัท [Corporate Finance]

การเงินธุรกิจ หมายถึงการเงินที่ดูเกี่ยวกับการหาเงินลงทุน การจัดวางจะใช้งานในบริษัท การบริหารเงินเพื่อทำให้มูลค่าของบริษัทเพิ่มมากขึ้น และการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆเพื่อบริหารเงินและลดความเสี่ยง
ถ้าเรามองว่าเป้าหมายของธุรกิจส่วนมากคือการสร้างรายได้ทำกำไร การเงินธุรกิจก็คือเครื่องมือที่ตรงต่อเป้าหมายด้านการทำกำไรมากที่สุดแล้ว ในกรณีที่บริษัทมีผู้ถือหุ้น หรือผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์ต่อการลงทุน หนึ่งในหน้าที่ของคนบริหารการเงินธุรกิจก็คือการสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจให้กับคนเหล่านั้น ซึ่งอาจจะมาในส่วนของ ‘เงินปันผล’ (dividend) เป็นต้น

หน้าที่หลักๆของการเงินธุรกิจมีอยู่ 3 อย่างครับ
  • ลงทุน (Investment) – ทุกธุรกิจต้องมีการบริหารทุนและทรัพยากรของตัวเอง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด แต่ละธุรกิจมีจุดแข็งจุดอ่อน และลำดับการลงทุนที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นหน้าที่ของการเงินธุรกิจส่วนนี้ก็คือการหาวิธีการลงทุนทั้งในและนอกธุรกิจตัวเองให้ดีที่สุด
  • ระดมทุน (Fund Raising) – หลายครั้งที่ธุรกิจต้องการระดมทุนเพื่อทำให้สามารถเติบโตหรือว่าปฏิบัติการต่อไปได้ การระดมทุนที่คนคุ้นเคยกันมากที่สุดก็คือการกู้ และการระดมทุนการเข้าตลาดหลักทรัพย์ ส่วนการลงทุนสำหรับบริษัทเปิดใหม่แนว startup  ที่ยังไม่มีทรัพย์สินหรือรายได้เพียงพอก็คือการ ‘ขายหุ้น’ ให้นักลงทุนผู้อื่น (Ventura Capital)
  • เงินหมุน (Cash Flow) – เงินหมุนก็เปรียบเหมือนสายเลือดของธุรกิจ บางธุรกิจไม่มีกำไรแต่ก็ยังสามารถบริหารต่อไม่ได้เพราะว่ายังมีเงินหมุนอยู่ สร้างธุรกิจกำไรเยอะ เนื่องจากขายเป็นเครดิตก็เลยทำให้บริหารงานติดขัด เพราะไม่มีเงินหมุน ธุรกิจที่สามารถบริหารเงินหมุนได้ดีก็จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่างของการบริหารเงินหมุนได้แก่ การหาเงินสดเพิ่ม การขอเพิ่มเครดิต หรือการสร้างหนี้ระยะสั้น
หน้าที่ของการบริหารการเงินในแต่ละบริษัทอาจจะไม่เหมือนกัน บริษัทซื้อมาขายไปก็อาจจะมีการลงทุนทางด้านสต๊อกด้านคลังสินค้าเยอะทำให้ส่วนการเงินต้องจับตาดูส่วนนี้เป็นพิเศษ แต่สำหรับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ไอทีที่มีการลงทุนส่วนมากเป็นทรัพยากรมนุษย์  การบริหารการเงินก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง

ธุรกิจบริหารด้านการเงิน (Financial Services)

ธุรกิจบริหารด้านการเงิน คือธุรกิจให้บริการที่เกี่ยวกับการเงินต่างๆ รวมถึงการบริหารเงิน บัตรเครดิต ประกัน บริษัทบัญชี การซื้อขายหุ้น การลงทุนต่างๆ ต้น โดยที่บริษัทการเงินพรุ่งนี้ก็มีอยู่หลายแห่งทั่วโลก แต่จุดการเงินใหญ่ๆได้แก่ ลอนดอน นิวยอร์ค โตเกียว สิงคโปร์ ฮ่องกง
เราดูเรื่องการเงินส่วนบุคคล และการบริหารการเงินธุรกิจแล้ว ในส่วนนี้เรามาดูธุรกิจบริหารด้านการเงินกันดีกว่าครับ
  • การธนาคาร – หากพูดถึงการบริการด้านการเงิน ‘ธนาคาร’ ที่มีทั้งการถอนเงินฝากเงิน เงินกู้และบัตรเครดิตก็เป็นสิ่งที่คนคิดถึงมากที่สุด รายได้หลักของธนาคารมาจาก ‘ดอกเบี้ย’ เช่นจากการกู้เงินหรือค่าปรับจากการจ่ายบัตรเครดิตสาย วาณิชธนกิจ หรือ investment bank คือบริการการเงินสำหรับลูกค้ามูลค่าสูง เป็นการให้บริการด้านการระดมทุน คำแนะนำด้านการเงินและภาษี และ ช่วยด้านข้อตกลงทางธุรกิจ
  • การลงทุน – บุคคลทั่วไปสามารถลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรต่างๆ บริษัทที่ช่วยด้านการลงทุนได้ค่าทำเนียมจากการลงทุน หน้าที่ของธุรกิจเกี่ยวกับการลงทุนก็คือการช่วยเพิ่มผลการลงทุนให้ลูกค้าในระยะความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ ในยุคสมัยใหม่ บริษัทลงทุนก็เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตัดสินใจมากขึ้น
  • ประกัน – ประกันเป็นหนึ่งในธุรกิจบริหารด้านการเงิน เพราะการเงินส่วนประกันครอบคลุมถึงหลายอย่างต้องแต่ความปลอดภัย สุขภาพ ทรัพสินท์และอสังหาทรัพย์ กฎหมาย และอื่นๆ หน้าที่ส่วนประกันรวมถึงผู้ประเมินความเสี่ยงและให้คำแนะนำเรื่องการซื้อประกัน และผู้ที่ขายประกันเพื่อลดความเสี่ยงให้กับผู้ซื้อ
  • ภาษีและการบัญชี – นอกจากบริการด้านนการบัญชีและภาษีแล้ว ส่วนนี้รวมถึงบริการด้านการเงินที่คนทั่วไปอาจจะคิดไม่ถึงเช่น บริษัทที่ช่วยในการทำธุรกรรมด้านการโอนเงินอย่าง Visa Mastercard ถึงบริการแลกเปลี่ยนค่าเงินต่างประเทศ อย่าง Superrich  
บางบริษัท อย่างธนาคารใหญ่ๆก็จะให้บริการหลายอย่างตั้งแต่การธนาคารทั่วไป ไปถึงการลงทุน การขายประกัน และการแลกเปลี่ยนค่าเงินด้วย

การเงิน-เศรษฐศาสตร์ (Finance and Economics)

การเงินและเศษฐศาสตร์ ก็เป็นอีกหนึ่งสาขาของการทำความเข้าใจโลกการเงิน สาเหตุที่การตัดสินใจด้านการลงทุนต่างๆนั้นยากก็เพราะว่า ‘ตัวแปร’ ที่เกี่ยวข้องกับผลตอบแทนของการลงทุนมีเยอะมาก ยกตัวอย่างเช่น เราควรลงทุนเมื่อไร ความเสี่ยงคืออะไร ต้นทุนค่าเสียโอกาสมีอะไรบ้าง ยิ่งถ้าเป็นการลงทุนในธุรกิจหรือในตลาดหลักทรัพย์ เราก็ยิ่งต้องทำความเข้าใจบริบทของธุรกิจแต่ละประเภทอีกด้วย

มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) คือหลักการพื้นฐานของเศรษฐศาสตรการเงิน หลักการง่ายของมูลค่าเงินตามเวลาก็คือ มูลค่าของเงิน 1 บาทที่เราได้มาวันนี้มีค่าไม่เท่ากับมูลค่าเงิน 1 บาทที่เราจะได้มาในอนาคต เช่น 10 ปีข้างหน้า  
ด้วยปัจจัยหลายอย่างเช่น ค่าเงินลอยตัว ดอกเบี้ยเงินฝาก การที่เราได้เงินสดมาในตอนนี้ย่อมสามารถทำให้เกิดโอกาสมากกว่า การที่เราได้เงินในอีก 10 ปีข้างหน้า ก๋วยเตี๋ยวเมื่อสิบปีที่แล้วอาจจะมีราคา 10-20 บาท แต่ก๋วยเตี๋ยวหนึ่งจาก ณ ปัจจุบัน มีราคา 40-50 บาทเป็นต้น
ความเสี่ยงและผลตอบแทน (Risk and Rewards) เป็นอีกหนึ่งหลักการด้านการเงินที่คนใช้บ่อยในเศรษฐศาสตร์เช่นกัน การลงทุนแต่ละอย่างมีผลตอบแทนและความเสี่ยงไม่เท่ากับ หากเราเลือกลงทุนทำธุรกิจโดยที่เราได้กำไรแค่ 1-2% ต่อปี และธุรกิจไม่มีการเติบโตเลย การลงทุนที่เสี่ยงน้อยกว่าแต่ได้ผลตอบแทนเท่ากันอย่างการนำเงินไปฝากธนาคารก็คงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

การทำกำไรจากสองตลาด (Arbitrage) คือการทำกำไรจากสินค้าชนิดเดียวกันแต่มีราคาขายไม่เท่ากันในตลาดสองประเภท หลักการนี้คือหัวใจของการทำธุรกิจและการลงทุนทุกอย่าง เช่นเราซื้อน้ำเปล่าในราคาขายส่งมาขวดละ 5 บาทแต่ขายในร้านขายปลีกในราคา 10 บาท เป็นต้น 
การทำกำไรจากสองตลาดอาจจะฟังดูง่าย แต่ในโลกที่ทุกคนมีข้อมูลตลาดและโอกาสไม่เท่าเทียมกัน คนบางคนก็อาจจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือโอกาสที่นักลงทุนหรือนักธุรกิจแต่ละคนมีได้ ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ ‘โลกออนไลน์’ ทำนักธุรกิจหลายคนปวดหัวมาก เพราะลูกค้าเริ่มมีข้อมูลและโอกาสหลากหลายขึ้น
หลักการของการเงินและเศรษฐศาสตร์มีอีกเยอะครับ แต่ในส่วนนี้ผมขอเขียนแค่เบื้องต้นก่อน หากใครสนใจก็คอมเม้นมาได้ เพราะผมคงเขียนบทความแยกมาอีกที





ความคิดเห็น

 Advertising